วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สื่อการประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
      การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
1.   การจำแนกประเภท
2.   การจัดหมวดหมู่
3.   การเรียงลำดับ
4.   การเปรียบเทียบ
5.   รูปร่างรูปทรง
6.   พื้นที่
7.   การชั่งตวงวัด
8.   การนับ
9.   การรู้จักตัวเลข
10.  รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
11.  เวลา
12.  การเพิ่มและลดจำนวน
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
หลักในการใช้สื่อ
การจะเลือกใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ในเบื้องต้นผู้เลี้ยงดูเด็กจะ ต้องตระหนักและเข้าใจว่าเด็กปฐมวัยเป็นที่เพิ่งเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เป็น พื้นฐานของการปรับตัวเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ดังนั้นการจะสอนให้เด็กปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ต้องเข้าใจพื้นฐานพัฒนาการของเด็กว่า เด็กยังแยกแยะสิ่งที่พบเห็นไม่ออก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกใช้สื่อเพื่อเปรียบเทียบให้เด็กเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งต่าง ๆ หรือการสอนความรู้ความเข้าใจเรื่องจำนวน การให้เด็กดูสัญลักษณ์ตัวเลข ควรเป็นเพียงการสร้างความคุ้นเคยเบื้องต้น แต่การสอนให้รู้จักจำนวน ควรใช้สื่อที่เด็กสนใจ เช่น ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะเล่านิทานแล้วสอดแทรกเรื่องจำนวนในนิทาน อาจจะเป็นการนับจำนวนสัตว์ สิ่งของเป็นต้น การเลือกสื่อการสอนประเภทวัสดุ สื่อการสอนประเภทวัสดุกับเด็กปฐมวัย สื่อประเภทวัสดุมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เพราะเป็นเครื่องช่วยในการเรียนรู้ของเด็ก และเป็นสื่อซึ่งก่อให้เกิดความรู้เบื้องต้นแก่เด็กวิชาต่าง ๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สุขศึกษา ธรรมชาติศึกษา สังคมศึกษา ศิลปะ เพลง ดนตรี จังหวะเคลื่อนไหว และเกมการเล่น วัสดุที่ใช้เป็นสื่อการสอน ได้แก่ วัสดุท้องถิ่น วัสดุเหลือใช้ วัสดุทำขึ้นเอง และวัสดุซื้อมาด้วย ราคาสูง วัสดุท้องถิ่น วัสดุท้องถิ่น หมายถึง สิ่งของที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามภูมิประเทศ ซึ่งจะแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละภูมิประเทศ วัสดุท้องถิ่นที่เราพบเห็นในท้องถิ่นต่าง ๆ ได้แก่ เปลือกหอย ก้อนหิน ปะการัง ทราย ก้อนแร่ ใบไม้ เม็ดมะกล่ำตาหนู ฟาง รังนก ต้นอ้อ เปลือกมะพร้าว ผลตาลแห้ง ก้านกล้วย ใบตอง ทางมะพร้าว เป็นต้น

 ความหมายของสื่อการสอน
          สื่อการสอน หมายถึง หมายถึง อุปกรณ์ หรือเทคนิควิธีการสอนต่างๆที่ช่วยจัดการเรียนรู้ ให้เด็กปฐมวัยให้สามารถเรียนรู้ได้ง่าย และดีขึ้น เช่น บัตรคำ เทปนิทาน เป็นต้น    สื่อ
                คุณค่าของสื่อการสอน
            สื่อการสอน เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ถ้าสื่อการสอนนั้นนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม จะทำให้เด็กเข้าใจในสิ่งที่เรียนมากขึ้น เพราะ สื่อการสอนทำให้ครูสอนเด็กได้ง่ายขึ้น และเด็กจะกระตือรือร้น ตั้งใจเรียน เพราะได้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจน
            สื่อการสอนในโรงเรียน     แบ่ง ได้ 2 แบบ คือ
1. สื่อการสอนในชั้นเรียน เช่น โต๊ะ เก้าอี้  มุมต่างๆ เป็นต้น
2. สื่อการสอนนอกห้องเรียน เช่น เครื่องเล่นสนาม  สนามหญ้า เป็นต้น
แหล่งเรียนรู้คณิตศาสตร์  แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เช่น สภาพโรงเรียน ห้องเรียน
2. แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน เช่น แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ตามชุมชน
3. แหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้
1. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของเฟรอเบล
เฟอรเบล เน้นสร้างสื่อการสอนที่เป็นเครื่องเล่น เพราะจุดเน้นในการจัดการเรียนรู้ของเฟอรเบล คือการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ดังนั้น เขาจึงผลิตชุดอุปกรณ์ขึ้นมา 2 ชุด เรียกว่า 1.ชุดของขวัญ หรือ Gift Set 2.ชุดอุปกรณ์การงานอาชีพ สื่อการสอนของเฟอรเบลจะใช้เพื่อพัฒนาความสามารถทางสติปัญญา และกระตุ้นให้เด็กใช้พัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของมอนเตสซอรี่
เน้นส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความสามารถ และความสนใจของตนเอง โดยครูเป็นผู้จัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้มากที่สุด ซึ่งอุปกรณ์การเรียนรู้ของมอนเตสซอรี่นี้จะกอบด้วยชุดอุปกรณ์การเรียนรู้ 3 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มประสบการณ์ชีวิต เช่น ร้อยลูกปัด แต่งตัว เช็ดกระจก เป็นต้น 2. กลุ่มประสาทสัมผัส เช่น แยกความแตกต่าง ของสี กลิ่น เสียงได้ 3.กลุ่มวิชาการ เช่นเข้าใจ ตัวเลข สัญลักษณ์
3.  สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิด ไฮสโคปอ
เน้นให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กเล่นกับวัสดุโดยตรง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย สื่อการสอนนั้นควรเน้นให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น การจำแนกวัสดุ - สิ่งของ  จำนวน เวลา เป็นต้น
4.  สื่อการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษา
เน้นการใช้ของจริง และสามารถนำไปใช้เพื่อฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านต่างๆ ได้ เช่น บล็อกต่างๆ สื่อการฝึกนับ รูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ปฏิทิน นาฬิกา เป็นต้น
หลักในการจัดหาสื่อการสอน
1.   มีความหลากหลาย  โดยคำนึกถึงพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยเป็นหลัก
2.   มีความปลอดภัยต่อเด็ก
3.   สื่อมีความน่าสนใจ สวยงาม เด็กสามารถหยิบใช้ถึง
4.   มีเพียงพอต่อเด็กในชั้นเรียน
5.   สื่อจะต้องมีประโยชน์ และไม่แพงจนเกินไป

การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อดำเนินการดังนี้
1.เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะประเภทของสื่อ
2.ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เองและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
3. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพหรือสีที่เป็นสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ประเภทของสื่อ เพื่อเด็กจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง
4.ตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้งว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่
5.ซ่อมแซมสื่อชำรุดและทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด การพัฒนาสื่อ การพัฒนาสื่อเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษานั้น ก่อนอื่นควรได้สำรวจข้อมูลสภาพปัญหาต่าง ๆ ของสื่อทุกประเภทที่ใช้อยู่ว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการ

สรุปสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
  สื่อการสอนคณิตศาสตร์มีความจำเป็นในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กเพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ทางด้านรูปธรรมมากกว่านามธรรมดังนั้นในการใช้สื่อคณิตศาสตร์สอนเด็กครูควรจะเน้นให้เด็กลงมือกระทำคิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

การวัดการประเมินคุณภาพของสื่อ
การประเมินการใช้สื่อ
           1.สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
          2.เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
          3.สื่อการสอนนั้นตรงกับจุดหมายหรือวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้หรือไม่
          4.สื่อนั้นช่วยให่เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด และสนใจเพราะเหตุใด



ตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 การรู้จักตัวเลขกับการเพิ่มจำนวน





การเรียงลำดับ